5 สัญญาณเตือนโรคไต ข้อควรระวัง และพฤติกรรมเสี่ยง
คนไทยป่วยเป็นโรคไต เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน! รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์ โดย 70% มีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อไตคือเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง ทำให้ไตเสื่อมในที่สุด
สัญญาณเตือนโรคไตที่ไม่ควรมองข้าม
- อาการบวมตามร่างกายมีอาการบวมตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าบวม ตาบวม หรือเท้าบวม
จุดสังเกตง่ายที่สุดคือ เท้า อาการบวมเห็นได้ชัดเจนในตอนที่ยืน หรือเดินนานๆ หรือเมื่อตรวจด้วยการใช้นิ้วกดลงไปบริเวณเท้าที่บวมจะมีรอยบุ๋มลงไป โดยสาเหตุการบวมเกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำและเกลือได้อย่างปกติ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในเนื้อเยื่อ - ความดันโลหิตสูงผิดปกติ
ความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี หรือความดันโลหิตสูงที่คุมได้ยากซึ่งต้องใช้ยาหลายชนิด อาจมีสาเหตุจากโรคไต เช่น ไตอักเสบ ไตวาย หรือ เส้นเลือดไปเลี้ยงไตตีบ เป็นต้น - ปัสสาวะผิดปกติ
เช่น ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน - คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ซึมลง
เกิดจากภาวะของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกาย จะพบเมื่ออัตราการกรองของไตลดลงมากแล้ว - ผิวแห้ง คัน และซีด
ภาวะไตเสื่อมทำให้ผิวหนังแห้ง คัน และอาจมีอาการซีดจากภาวะโลหิตจาง นอกจากนี้ยังอาจพบปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดฟอสเฟตส่วนเกินและควบคุมระดับแคลเซียมได้เหมือนเดิม
ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อไต
โรคประจำตัวที่ส่งผลต่อไต
- โรคเบาหวาน: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจะทำลายหลอดเลือดฝอยในไต
- โรคความดันโลหิตสูง: ความดันที่สูงเกินไปทำให้หลอดเลือดไตเสียหาย
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปยังไต
- โรคอ้วน: เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันไตเสื่อม
ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคไต แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราก็ส่งผลเช่นกัน! มาดูกันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เสี่ยงทำร้ายไตโดยที่เราไม่รู้ตัว
กินเค็มจัด ชอบของดอง :
อาหารที่มีรสเค็ม ส่วนใหญ่มักมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น ของหมักดอง อาหารแปรรูป ซอสปรุงรส ซีอิ๊วขาว น้ำปลา กะปิ ซึ่งการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงอยู่เป็นประจำ เพิ่มความดันโลหิตและทำให้น้ำคั่งในเส้นเลือด ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
ชอบกินยาแก้ปวดเป็นประจำ :
หลายคนเป็นพวก "ปวดนิดปวดหน่อยก็กินยา" ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง และ ไตอักเสบ
ดื่มน้ำน้อยเกินไป :
ภาวะขาดน้ำ ทำให้ไตต้องทำงานหนักเพราะกรองของเสียจากเลือดที่เข้มข้นเกินไป และทำให้เกิดการสะสมของสารเคมีในทางเดินปัสสาวะ จนตกตะกอนกลายเป็นโรคนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะได้
สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ :
ใครที่ชอบเข้าสังคม ปาร์ตี้สังสรรค์บ่อยๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำลายหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงโรคไตแบบไม่รู้ตัว
ปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูง :
น้ำตาลในเลือดที่สูง จะทำให้เส้นเลือดในไตตีบ นำไปสู่การมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะและภาวะไตวายที่สุด
ตรวจสุขภาพไต เพื่อความอุ่นใจระยะยาว
แม้ว่าโรคไตจะเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่สามารถควบคุมและชะลอไตเสื่อมได้ แต่สิ่งที่ทำให้โรคไตน่ากลัว คือ มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนในช่วงเริ่มต้น หลายคนจึงไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยง
พร้อมแพทย์คลินิก พร้อมให้บริการด้วยทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ที่ใส่ใจในทุกขั้นตอนอย่างเป็นกันเอง มี "แผนกไต" โดยเฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจ
เปิดให้บริการทุกวัน:
- วันจันทร์ - ศุกร์: 17.00 - 19.30 น.
- วันเสาร์ - อาทิตย์: 08.30 - 12.00 น.
ที่อยู่: 54/49 หมู่ที่ 2 ถ.ศรีวิชัย 39 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 (ฝั่งตรงข้ามตลาดศรีราชา)
สนใจตรวจสุขภาพไต โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง หรือปรึกษาอาการผิดปกติ ติดต่อเราได้ที่: 096-645-5565 หรือ 091-461-9130 หรือตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ > คลิกที่นี่